วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

สร้างนิสัยรักการอ่านในเด็กปฐมวัย (2)

สร้างนิสัยรักการอ่านในเด็กปฐมวัย (1)

ตอนที่ 9 ดนตรีในขวดแก้ว

ตอนที่ 18 สัมผัสและความรู้สึก

ตอนที่ 19 เล่นกับเชือก

ตอนที่ 1 ผู้พิทักษ์ความสะอาด

โรงเรียนอนุบาลปราโมชพัฒนา

yuwaspeech10.flv

ตอนที่ 5 กระดุมล่องหน

07 คาราวานเสริมสร้างเด็กปฐมวัย ที่ โรงเรียนบ้านธานน้ำผึ้ง

30 สอนเด็กปฐมวัย ใช้ระบบ 2 ภาษาไทย มลายู ที่ โรงเรียนบ้านดุซงยอ จ นราธ...

04 ยอดครูปฐมวัย ที่ โรงเรียนอนุบาลมะนัง สตูล

คิดอย่างไรกับอาหารเด็กไทยในปัจจุบัน

 
       ศ. (เกียรติคุณ) พญ.ชนิกา ตู้จินดา ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลอาหาร สำหรับเด็กไทยปัจจุบันเป็นไปตามยุคสมัย โลกาภิวัฒน์ ตามความนิยมตะวันตกและกระแสโฆษณา อาศัยซื้อหาสะดวกรวดเร็ว ตามลีลาชีวิตของพ่อแม่ลูกยุคใหม่ อาหารตามธรรมชาติมีลดน้อยลง จึงควรหันกลับยังวิถีไทย กินข้าว กินปลา กินผัก ผลไม้ไทยมากขึ้น และลดอาหารหวาน มัน เค็ม จะดีมากค่ะ

พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ 
นักวิชาการอิสระ
ต้องบอก ว่า เห็นแต่อาหารที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพ หรือ ถึงกับเป็นพิษภัยนานาชนิด ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงวิถีการกินอาหารของครอบครัว เราต้องการอาหารจานด่วนมากขึ้น เด็กๆ ก็รับนิสัยการกินของเราไป กินจุบจิบมากขึ้น กินผักผลไม้น้อยลง กินอาหารสำเร็จรูปกันมาก ทั้งที่เมืองไทยเป็นผู้ผลิตอาหารสด น่ากินทั้งนั้น นอกจากนี้โฆษณาที่แฝงมากับทีวี ที่เชิญชวนให้ลิ้มลองขนมนานาชนิด ไม่เป็นผลดี ทำให้ฟันผุ อ้วน และขาดสารอาหารที่จำเป็น... น่าเป็นห่วงมากๆ
      
       พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู  กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีอาหาร สำหรับเด็กไทยในปัจจุบันมีหลากหลายมากขึ้น แนวโน้มเป็น healthy food good taste มากขึ้น ปัจจุบัน  เด็กมีปัญหาน้ำหนักเกินค่อนข้างมาก นอกจากจะคำนึงถึงสารอาหารครบถ้วนแล้ว ควรสอนลูกให้กินแต่พอเพียง และสอนให้กินผักและผลไม้ที่หลากหลาย หลีกเลี่ยง กินซ้ำๆ เลี่ยงหวานมันและเค็ม พึงระลึกเสมอว่ากินเพื่ออยู่หาได้อยู่เพื่อกิน
 
 
รศ.เกริก ยุ้นพันธ์อาจารย์สาขาวรรณกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอาหาร สำหรับเด็กต้องอร่อย สะอาด และการเตรียม ต้องพิถีพิถัน พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างของการกิน อะไรควรและอะไรไม่ควร อาหารไทยและอาหาร พื้นบ้านไทยต้องกินได้และกินเป็น สำรับกับข้าว ถ้วยจานและชามจะต้องดูพิเศษและดูดี เด็กๆ จะได้พบกับความสุขและชื่นใจกับสิ่งต่างๆ ที่เป็น องค์ประกอบร่วมกัน อาหารสำหรับเด็กไทย ผมอยากให้ละเมียดละไมทุกอย่างในกระบวนการครับ       
 
 
        ดร.สายสุรีย์ จุติกุลรองประธานกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติปัจจุบัน มีอาหารหลากหลายให้เด็กเลือก แต่เด็กไทย ก็ยังพบเจอปัญหาในด้านการกิน อย่างหนึ่งคือ ขาดโภชนาการที่เป็นด้านๆ เช่น ไอโอดีน วิตามินต่างๆ ดังนั้น ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ อีกประเภท คือ เด็กที่อ้วนพีเกินขนาด อาจเกิดจากกินอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ หรือกินของขบเคี้ยวมากไป คือของเหล่านี้ กินได้แต่ไม่ควรกินแทนอาหารที่มีประโยชน์ อีกสิ่งคือ ส่งเสริมการออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้อยู่ที่ความฉลาด ของพ่อแม่ และครูที่โรงเรียน ต้องช่วยให้เด็กเลือกกินอาหารอย่างฉลาด
 
 
นพ.พงษ์ศักดิ์ เจริญงามเสมอสูติ-นรีแพทย์สภาพ สังคมที่เร่งรีบและค่านิยม ความใส่ใจในการ รับประทานอาหารปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไปมาก คุณค่าทางอาหารก็ลดน้อยลงไปด้วยเป็นเหตุให้เด็กไม่สบายมากขึ้น ถ้าจะมีผู้ใหญ่ เช่น ปู่ย่าตายายช่วยดูแล ในเรื่องคุณภาพของอาหารก็จะช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ จากงานที่เร่งรัดได้ อีกทั้งยังต้องฝึกให้เด็ก รู้จักเลือกที่จะกินสิ่งที่เป็นประโยชน์และรู้จัก อดทน กับการยั่วยวนจากโฆษณาทั้งหลายด้วย       
 
 
       พญ.รังสิมา โล่ห์เลขากุมารแพทย์ด้านโรคติดเชื้อในเด็กปัจจุบัน เด็กไทยมีทางเลือกในการบริโภคอาหารมากขึ้น นอกจากอาหารที่ปรุงเองที่บ้านแล้วยังมีร้านอาหารประจำชาติ ร้านอาหารแฟรนไชน์ต่างๆ ขนมและอาหารสำเร็จรูป อาหารและขนมหลายชนิดเริ่มระบุปริมาณสารอาหารและแคลอรี บางชนิดมีน้ำตาลต่ำ ไขมันต่ำ ถ้าผู้ปกครองเข้าใจหลักโภชนาการและทราบวิธีการเลือกอาหารที่เหมาะสม เด็กก็จะได้ประโยชน์ หากไม่มีความรู้เรื่องโภชนาการและปล่อยให้เด็กบริโภคตามใจปากอาจเกิดผลเสีย ได้ เพราะขนมและอาหารหลายชนิดมีไขมันสูง รสชาติหวาน

 
นพ.จอม ชุมช่วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นคิด ว่า เด็กในปัจจุบันกินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ มากขึ้น อาจเป็นเพราะสื่อโฆษณามีอิทธิพลกับเด็ก  มากขึ้น รวมทั้งพ่อแม่เองก็ไม่หนักแน่นพอในการที่จะ ยึดมั่นให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากนี้แล้ว พ่อแม่เองก็อาจไขว้เขว หาอาหารเสริมทดแทนเมื่อ ลูกกินยาก แท้จริงแล้วควรกลับมาสู่จุดดั้งเดิมคือ อาหารหลัก 5 หมู่ ร่วมกับวินัยในการกินครับ       
 
 
       อ.เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีปกรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กอาหาร สำหรับเด็กไทยในวันนี้ ล้วนมีแต่อาหารที่ ตอบสนองความต้องการแบบสำเร็จรูป และการใช้ชีวิตแบบเกินไปและไม่สมดุล คือ ไม่มากเกินไป ก็น้อยเกินไป เช่น เด็กกินขนมและอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป ในขณะที่กินผัก ผลไม้น้อยเกินไป เหล่านี้ก็เป็นไปตามแรงโฆษณา มิหนำซ้ำพ่อแม่ ยังมีพฤติกรรมแบบง่ายเข้าว่า จึงไม่แรงพอที่จะต้าน หรือสอนลูกให้รู้เท่าทันสื่อ แล้วหาอาหารดีที่มีประโยชน์มาให้เป็นทางเลือกเพื่อลูกจะได้รอด เด็กจึงโชคร้าย ซ้ำแล้วซ้ำอีก..เฮ้อ สงสารเด็กไทยชะมัด
 
 
ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ
ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ
เนื่อง จากอิทธิพลตะวันตกทำให้เด็กไทยรู้จักอาหารไทยน้อยลง ทั้งๆ ที่อาหารไทยอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ไฟเบอร์เยอะ แป้งน้อย พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกหันมากินอาหารไทยให้มาก ในโลกนี้มีอยู่ 2 ประเทศคือ ฝรั่งเศสกับไทยที่จัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีความ หลากหลายทางอาหารสูง เพราะฉะนั้นเราน่าจะภูมิใจและส่งเสริมให้เด็กกินอาหารไทยมากขึ้น
      
 
 
       พญ.สุธิรา ริ้วเหลืองจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ราชนครินทร์หมอ อยากฝากข้อคิดกับทุกท่านว่า อาหารปัจจุบันที่ให้ลูกของเรามีมากมาย หลายชนิด หลายแบบ หาได้ง่ายและรวดเร็ว ขอให้พ่อแม่มีสติในการเลือกให้ลูกนะคะ
 
 
อ.ทิพย์สุดา สุเมธเสนีย์นักวิชาการด้านการศึกษาปฐมวัย สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเด็ก ไทยทุกวันนี้นิยมกินอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป junk food เด็กๆ ดูจากโฆษณาที่เชิญชวนให้กิน อาหารก็สั่งง่ายด้วยปลายนิ้ว อาหารส่วนใหญ่มีแต่แป้งและไขมันสูง เด็กจึงมีปัญหาเรื่องอ้วน ไม่ชอบกินผักผลไม้ พ่อแม่ควรทำอาหารกินกับลูกที่บ้านให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหาร ไปตลาด ซื้อของมาทำอาหารร่วมกัน  เด็กจะได้เรียนรู้และกินอาหารที่มีคุณค่า       
       อ.พรอนงค์  นิยมค้า เลขาธิการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กอาหาร มีความสำคัญมากต่อการสร้างร่างกายทุกส่วนของเด็กๆ อาหารดี ร่างกายก็เติบโตดี เด็กไม่ควรได้รับนมบูดโดยเด็ดขาด นมบูดกลายเป็นอาหารสำหรับเด็กไทยในปัจจุบันไปได้อย่างไร ใครก็ได้ ช่วยกำจัดผู้ใหญ่ใจร้ายให้ทีเถิด
 

นพ.สุริยเดว ทรีปาตีหัวหน้าคลีนิคเพื่อนวัยทีน กุมารแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีต้อง ขอบอกว่าเหนื่อยใจเพราะตอนนี้กระแสบริโภคนิยมมีปัญหาค่อนข้างเยอะ อาหารที่โฆษณาส่วนใหญ่เป็นอาหารที่เป็นทุกขภาพมากกว่าเน้นด้านสุขภาพ ก่อให้ เกิดภาวะเสี่ยงเป็นโรคมากกว่าทำให้มีสุขภาพดี ส่วนอาหารที่มีคุณภาพ ราคาก็ค่อนข้างแพง หายาก และการโฆษณาก็สู้ไม่ได้ ทั้งๆ ที่เมืองไทยมีวัตถุดิบ ผักผลไม้ที่ดีมากๆ เราควรปลูกฝังสิ่งดีๆ เหล่านี้ให้เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตมากขึ้น รวมทั้งลดโฆษณาอาหารที่ไร้สาระ       
 

       นพ.มีชัย อินวู๊ดศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทยปัจจุบัน มีทางเลือกในด้านอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย อาหารนานาชาติ รวมไปถึงอาหารฟาสต์ฟู้ด ถ้าคิดถึงอาหารในรูปแบบของพลังงานและสิ่งที่ร่างกาย ต้องการในการเจริญเติบโต ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอแล้ว ไม่ว่าอาหารประเภทไหนก็ใช้ได้ทั้งนั้น ขอให้ครบ 5 หมู่ และกินในสัดส่วนที่เหมาะสม สิ่งที่ควรทำคือฝึกให้ลูกชิน กับอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักและผลไม้ คุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็งนิดหนึ่งในการทำให้ลูกๆ กินอาหารที่มีประโยชน์กับพวกเขานะครับ

 
รศ.ดร.จิตตินันท์ เดชะคุปต์สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชอาหาร เป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อพัฒนาการของสมอง เด็กในแต่ละช่วงอายุจำเป็นต้องได้ รับการดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารเพื่อพัฒนาการที่ดี โดยเฉพาะการได้รับ สารอาหารครบ 5 หมู่ เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย การได้เรียนรู้บริโภคนิสัยและมารยาทในการ กินอาหารที่ดี สิ่งเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาหาความรู้เรื่องอาหารตามหลักโภชนาการและ การปฏิบัติตาม โภชนบัญญัติ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการปลูกฝังพฤติกรรมการกินที่ดี       

 
       รศ.ดร.ณรุทธ์ สุทธจิตต์สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปัจจุบัน อาหารที่เหมาะสำหรับเด็กมีมากมาย แต่พ่อแม่ต้องเลือกให้ถูกกับวัยและความต้องการของเด็ก ควรส่งเสริมการกิน อาหารไทย อาหารพื้นบ้าน และ ขนมไทย หลักสำคัญคือ ให้กินอาหารที่มีประโยชน์  อีกเรื่องคือ บางครั้งเด็กอาจอยากกินขนมหรืออาหาร ที่จัดว่าไม่มีประโยชน์ เช่น ทอฟฟี่ อยากให้คิดถึงอารมณ์เด็ก ให้กินบ้าง แต่ต้องนานๆ ครั้ง และให้ความรู้ด้วยว่าของกินเหล่านี้เป็นอย่างไร เพราะการกินไม่ได้เป็น เพียงสนองตอบความต้องการทางร่างกาย แต่เป็นการสนองตอบต่ออารมณ์และความรู้สึกด้วย


เลือกโรงเรียนให้ลูก

 
 
     “ถึงเวลาเลือกโรงเรียนให้ลูกแล้ว จะเลือกโรงเรียนแนวไหนดี” คำถามนี้คงใช้ถามลูกไม่ได้ เพราะลูกยังเล็กเกินกว่า ที่จะใช้ความคิดตัดสินใจ อย่างไรพ่อแม่ก็ต้องเป็นผู้ตัดสินใจให้ แต่เราจะใช้ข้อมูลจากไหนมาเป็แนวทางช่วยเราหาโรงเรียนที่ดีที่สุดและเหมาะสม ที่สุดสำหรับลูก     
      ปัจจุบันแนวทางการศึกษาระดับอนุบาลที่อยู่ในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ ทั้งโรงเรียนรูปแบบคุ้นตาที่เน้นการเรียนเขียนอ่าน  โรงเรียนแบบเตรียมความพร้อม โรงเรียนสองภาษา โรงเรียนนานาชาติ แต่ละรูปแบบก็ยังแบ่งแยกรายละเอียดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหลักสูตรแต่ละ ที่        
     หลักการของมนุษยปรัชญาที่อธิบายโดย ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์( 1861-1925) นักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ และนักการศึกษา ได้กล่าวถึงความเป็นมนุษย์ประกอบด้วย 3 มิติ กาย (body)  จิต(soul) และจิตวิญญาณ(spirit) การศึกษาที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์จึงไม่ใช่เป็นเพียงการเพิ่มเติมความร็ให้กับ ผู้เรียน แต่เป็นการเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงศักยภาพที่แฝงเร้นให้แสดงออก มา ให้ผู้เรียนสามารถค้นพบพลังในตัว ความกระตือรือร้นและปัญญาที่ตนเองมีอยู่ เพื่อการบรรลุคุณภาพสูงสุดในตัวเองของแต่ละบุคคล หัวใจของการศึกษาคือ การให้ความสมดุลระหว่างความคิด ความรู้สึกและการลงมือกระทำหรือพลังเจตจำนง  ระบบการสอน จึงเป็นเช่นศิลปะแห่งการปลุกสิ่งซึ่งแท้จริงแล้วดำรงอยู่ในตัวมนุษย์ให้ตื่น ขึ้นมา หลักการของ  รูดอร์ฟ สไตเนอร์ ทำให้เกิดแนวทางโรงเรียนของวอลดอร์ฟในเวลาต่อมา โดยครูผู้สอนจำเป็นจะต้องปลุกความเป็นมนุษย์ ที่แท้จริงในตัวเองเสียก่อน            
      มนุษยปรัชญาได้ทำให้ผู้ที่ศึกษามองเห็นความสำคัญของเด็กเล็กในวัยอนุบาล กล่าวคือ เด็กวัยอนุบาลหรือช่วงอายุ 0-7 ปี อยู่ในระยะของการสร้างร่างกาย  ทางกายภาพแสดงออกโดยผ่านการลงมือกระทำ(hands) วึ่งแฝงเร้นด้วยพลังเจตจำนง(will) ที่เด็กๆจะมีความมุ่งมั่นทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จ สิ่งที่เด็กต้องการทำนั้นได้มาจากแบบอย่างที่พบเห็นใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กอยากเรียนรู้ โดยการเลียนแบบสิ่งที่เห็น การส่งเสริมให้เด็กพัฒนาพลังเจตจำนง ทำได้โดยทำสิ่งแวดล้อมให้เหมาะต่อการเรียนรู้  รักษาความสม่ำเสมอ มีผู้คนที่เป็นแบบอย่าง มีชีวิตที่เป็นความปกติอยู่ในความดีงาม ลักษณะของสถานศึกษาหรือโรงเรียนอนุบาลที่เหมาะสำหรับเด็กเล็กจึงควรมีสภาพ เป็นบ้าน  อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้อันสำคัญสำหรับเด็ก สื่ออุปกรณ์เป็นสิ่งที่ไม่สำเร็จรูปเพื่อเสริมสร้างจินตนาการแก่เด็ก มีครูที่เปรียบเสมือนเป็นแม่ เด็กนักเรียนเหมือนลูกๆและเป็นพี่น้องกัน ส่วนกิจกรรมในโรงเรียนอนุบาลควรเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการงานและชัว ิตประจำวันในบ้าน           
     สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ ได้กำหนดหลักการของการจัดการการศึกษาปฐมวัยไว้ดังนี้   
     อุดมการณ์และหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับแรก วางรากฐานชีวิตของเด็กไทยให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บนพื้นฐานความสมารถ และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยใช้กิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการของสมองอย่างเต็มที่ รวมทั้งเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับ สูงขึ้น อันจะนำไปสู่ความเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป การศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละบุคคลภายใต้ บริบททางวัฒนธรรม อารยธรรม และวิถีชัวิตทางสังคม  ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างกัน
          
   หลักการของการจัดการศึกษาปฐมวัย           
1.หลักการพัฒนาโดยองค์รวม โดยเริ่มจากการพัฒนาด้านร่างกายให้แข็งแรงที่สมบูรณ์ กระตุ้นให้สมองได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ พัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ให้เป็นผู้ที่มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง ร่าเริงแจ่มใส สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้  พัฒนาด้านสังคมโดยให้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีสามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รวมทั้งพัฒนาสติปัญญา ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ บนวิถีชีวิตของเด็กตามสภาพครอบครัว บริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย       
2.หลักการจัดประสบการณ์ที่ยึดเด็กเป็นสำคัญ โดยจัดการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และจัดการเรียนรู้ ผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นเรียนให้สนุก เล่นให้มีความสุข และเกิดพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล
3. หลักการสร้างเสริมความเป็นไทย โดยการปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นคนไทย ความเป็นชาติไทยที่มีวัฒนธรรมอันดีงาม เคารพนับถือและกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา มีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจ ทำให้เกิดความรักและความภาคภูมิใจในตนเอง ครอบครัว ท้องถิ่นและประเทศไทย       
4. หลักความร่วมมือ โดยครอบครัว ชุมชนและสถานศึกษาร่วมมือกันในการอบรม เลี้ยงดูและพัฒนาเด็กให้มีการพัฒนาการให้เหมาะสมกับวัย สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข ตลอดจนพร้อมที่จะเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป      
5. หลักแห่งความสอดคล้อง อุดมการณ์และมาตรฐานในการจัดการศึกษาปฐมวัยต้องสอดคล้องกับสาระบัญญัติในรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัตการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 )พุทธศักราช 2545 นโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา สอดคล้องกับมาตรฐานการสึกษาของชาติและสัมพันธ์เชื่อมโยงกับมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนอนุบาลมีหลักการคล้ายกัน แต่มีหลายแนวดังนี้       
1. แนวเร่งเรียนเขียนอ่าน กลุ่มนี้ผู้ปกครองให้ความเชื่อถือว่า จบอนุบาลแล้วสามารถสอบเข้าชั้นประถมของโรงเรียนดังๆยอดนิยมได้ แนวการสอนคือ เน้นการคัดลายมือ บวกลบเลข สอนให้อ่านออกเขียนได้เมื่อจบชั้นอนุบาล3     
 
2. แนวเตรียมความพร้อม กลุ่มนี้แตกต่างจากกลุ่มแรกอย่างชัดเจน ยังแบ่งออกเป็นสองรูปแบบ รูปแบบแรก เป้าหมายอยู่ที่เตรียมความพร้อมเพื่อขึ้นชั้นประถม1 ให้เด็ก3-6 ปีพัฒนาสมองและร่างกาย ประสาทและกล้ามเนื้อต่างทำหน้าที่สัมพันธ์กัน กิจกรรมเน้นการฝึกทักษะด้านการคิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางการศึกษาเน้นการเล่นปนเรียน หัวใจของการจัดการศึกษาเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่วนรูปแบบที่สอง มีปรัชญารองรับ อาจเรียกอีกชื่อว่า โรงเรียนทางเลือก ไม่เน้นการเรียนเขียนอ่านในระดับอนุบาลและไม่เน้นเพื่อเตรียมเด็กให้มีความ พร้อมเพื่อขึ้นประถม1 แต่เป็นการเตรียมพร้อมที่เหมาะสมสำหรับการสร้างฐานของชีวิตและสิ่งที่ต้องทำ ในวัยเด็ก ครูจะพยายามสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น แนวทางการศึกษามีรูปแบบแตกต่างไปตามปรัชญาที่โรงเรียนแต่ละโรงเรียนนำมาใช้ เช่น นีโอฮิวแมนนีส  วอลดอร์ฟ มอนเตสเซอร์รี่ เรกจิโอเอมิเลีย โปรเจกต์แอปโพรช รวมถึงแนวพุทธที่กำลังเป็นที่สนใจในขณะนี้   
3. โรงเรียนสองภาษาหรือไบลิงกัว เพิ่งเป็นที่รู้จักมาประมาณ2-3ปี เป็นโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรของกระทรวง แต่ถูกระบุให้ใช้สองภาษาอย่างละครึ่งต่อครึ่ง ไม่ว่าจะเป็นภษาอังกฤษหรือภาษาจีน บางโรงเรียนเพิ่มเป็นสามภาษาเพราะความต้องการของผู้ปกครอง ในระดับอนุบาล สอนแบบเตรียมความพร้อมเน้นกิจกรรมเล่นปนเรียน มีสื่อที่เป็นภาษาที่สอง เช่น บัตรคำ หนังสือภาพเทคโนโลยีทางการศึกษา       
4. โรงเรียนนานาชาติ จากเดิมที่มีไว้รองรับลูกหลานของต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย รับเด็กไทยเพียง     10-15% ปัจจุบันนี้กลายเป็นที่นิยมของคนในสังคมไทยที่มีฐานะสามารถสนับสนุนการเงิน โรงเรียนนานาชาติมีหลักสูตรของตนเองขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ โรงเรียนนานาชาติเป็นโรงเรียนที่ไม่ได้ใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ แต่จะใช้หลักสูตรของต่างประเทศ แยกเป็นโรงเรียนนานาชาติแท้ๆคือ รับเด็กจากชาติต่าง เรียนคละกันใช้หลักสูตรระบบอเมริกันและระบบอังกฤษ กับโรงเรียนเฉพาะเจาะจงของแต่ละชาติ เช่น โรงเรียนญี่ปุ่นที่ใช้หลักสูตรญี่ปุ่น หรือโรงเรียนฝรั่งเศสก็เรียนตามหลักสูตรฝรั่งเศส แต่ส่วนใหญ่โรงเรียนนานาชาติจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เพราะเป็นภาษากลางที่ใช้ได้ทั่วโลก    
      อย่างไรก็ตาม หากพ่อแม่เฝ้ามองการเจริญเติบโต ค้นหาพลังแห่งความเป็นมนุษย์ที่แท้ของเด็ก เด็กเปรียบเสมือนตัวอ่อนในไข่ที่ต้องอดทนฟูมฟัก บ่มเพาะด้วยความรักความอบอุ่น หากมุ่งเน้นแต่การให้แต่เนื้อหาข้อมูล เด็กจะได้เพียงจำได้แต่ยังหลับไหล หากพ่อแม่ให้การดูแลแบบค่อยๆปลุกให้ตื่น หาวิธีเรียนรู้โลกที่เป็นอยู่อย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้เด็กมีความมั่นใจว่าโลกนี้มีความดีและความงาม หาวิธีเข้าถึงความเข้าใจต่างๆ ด้วยศิลปะที่มีอยู่ในตัวผู้สอน การเรียนรู้ที่แท้จริงจะค่อยๆเกิดขึ้นในตัวเด็ก

การเลือกหนังสือภาพดีๆสำหรับเด็ก

การเลือกหนังสือให้กับเด็ก


บทความเสนอแนะวิธีการเลือกหนังสือให้กับเด็กวัยต่างๆ โดย ผ.ศ. เกริก ยุ้นพันธ์

มี คำกล่าวว่า “ถ้าชาติใด เมืองใด ให้ความสำคัญแก่ หนังสือ สำหรับเด็ก ชาตินั้น เมืองนั้น จะพบความสำเร็จในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ตลอดจนศิลปะ และวัฒนธรรม”

เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ผมไปบรรยายหัวข้อการเล่านิทาน เพื่อ การ พัฒนา ภาษาให้กับเด็กที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 8 จังหวัดนครสวรรค์ มีผู้สนใจ มากมาย ประมาณ 350 ท่าน หลังจากบรรยายเสร็จสิ้น ระหว่างการซักถาม มีผู้ เข้าร่วมฟัง บรรยายถามว่า ทำอย่างไรจะให้ ลูกเลิกดื้อ คำถามนี้มีคนถามผมบ่อย ครั้งมาก คำตอบก็คือ ลูกผมก็ดื้อ แต่เรามีวิธีแก้ไข

หนังสือ เด็กมีมากมาย เราก็เลือกเรื่องที่มีตัวเอก ในเรื่องเป็นคน ไม่ดี หรือเป็นตัวเอกที่เกเร แล้วตอนจบ จะต้องเกิดความเดือนร้อน แก่ตัวเอกเอง หรือประเภทให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว แล้วเรานำ เอาเรื่องราว ประเภทนี้ มาอ่าน หรือมาเล่า หรือให้เด็กอ่านเอง เรื่องจากหนังสือ จะทำให้เกิดสะดุด ความรู้สึกแก่เด็กหรือตรงใจเขา เด็กอาจจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลยก็ได้ หรือบางทีอาจจะยังไม่เกิด ผลอะไรเลยก็ได้ ผู้ปกครอง พ่อ แม่ ครู หรือพี่เลี้ยง ก็จำเป็นต้องหา เรื่องใหม่ๆ แต่ความคิดรวบยอด หรือแก่นของเรื่อง มุ่งหวังให้เด็ก มีพฤติกรรมตามที่ผู้ใหญ่พึงประสงค์

ฉะนั้นหนังสือสำหรับเด็กมีส่วนช่วย ปรับเปลี่ยน พฤติกรรม สำหรับเด็กได้

แล้วหนังสือเด็กที่ดีมีคุณสมบัติอย่างไร เราจะเลือกอย่างไร หรือ สร้างดุลยพินิจอย่างไร เพื่อเลือกให้ถูกต้องเหมาะสม

วัย ของเด็กตั้งแต่ 3-5 ปี หนังสือเด็กจะมีคำง่ายๆ เรื่องง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ใหญ่จะต้องอ่านให้เด็กฟัง เช่น เรื่องหนูมี หนูมา ของคุณสมใจ ทิพย์ชัยเมธา

หนูมี หนูมา

หนูมา เป็นพี่

หนูมี เป็นน้อง

หนูมา เป็นคนดี

หนูมี เป็นเป็นคนขยัน

ลุงป้าให้ของขวัญหนูมา

ตายายให้ของขวัญหนูมี

หนูมีได้ตุ๊กตาหมา

หนูมาได้ตุ๊กตาหมี…..ฯลฯ เป็นต้น

นอก จากคำ และ เรื่องจะง่ายสำหรับเด็กแล้ว ภาษาต้องสละสลวย ไพเราะ และเป็นคำคล้องจองยิ่งดีมากเหมือนบทอาขยาน หรือเพลงกล่อมเด็ก หรือ เพลงร้องเล่น ฯลฯ เป็นต้น

วัย ของเด็กต่อจากอายุ 3-5 ปีก็จะเป็นวัยของเด็กอายุ 6-11 ปี (เด็กโต) วัยนี้เด็กจะอ่านหนังสือเอง ดังนั้น เรื่องจะขยายมากขึ้น ในส่วนของโครงเรื่อง แต่แก่นเรื่องจะมุ่งเน้นแอบแฝงสอนเด็ก หรือ ไม่สอนเด็กเลยก็ได้ ความยุ่งยากซับซ้อนมีได้แล้วในเด็กวัยนี้ ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย

วัย ของเด็กที่ผมยกตัวอย่างมานี้ผมจะกล่าวถึงเพียง 2 ระดับอายุ คือ 3-5 ปี และ 6-11 ปี หลังจาก 11 ปีไปแล้ว เด็กจะขึ้นเรียนใน ระดับมัธยมศึกษา การอ่าน และ พฤติกรรมการอ่านของเด็กจะ เปลี่ยนไป เด็กวัยรุ่นจะอ่านอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะต่างกับการอ่าน และ การเลือกหนังสือเพื่ออ่าน

แต่จุดสรุปรวบยอดของเรื่องที่ดีสำหรับเด็กควรเป็นดังนี้ (ทุกระดับอายุ)

- เด็กต้องการความรักความอบอุ่น
- เด็กอยากรู้อยากเห็นในสิ่งรอบตัว
- เด็กกระตือรือร้นในการเล่น การกิน และชอบท่องเที่ยวผจญภัย
- เด็กยึดมั่นในคำสัญญา และรอคอย
- เด็กชอบจินตนาการแปลกๆ
- เด็กชอบอิสระ
- เด็กอยากได้สิทธิ และเคารพในสิทธิของผู้อื่น
- เด็กต้องการความจริงใจ
- เด็กชอบความงดงาม
- เด็กชอบความปลอดภัย….ฯลฯ เป็นต้น

จาก การสรุปความต้องการ หรือเรื่องปลูกฝังทางอ้อม แก่เด็ก จะมีจุดรวมใหญ่ ดังกล่าวข้างต้นพอเป็นแนว และ เรื่องสำหรับเด็กที่ดี จะต้องไม่สอนเด็กตรงๆ และการจบของเรื่องจะต้องไม่สรุปแบบสำเร็จ ควรเป็นปลายเปิดให้เด็กเกิดความรู้สึกหรือนึกคิดเอง