วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

การเลือกหนังสือภาพดีๆสำหรับเด็ก

การเลือกหนังสือให้กับเด็ก


บทความเสนอแนะวิธีการเลือกหนังสือให้กับเด็กวัยต่างๆ โดย ผ.ศ. เกริก ยุ้นพันธ์

มี คำกล่าวว่า “ถ้าชาติใด เมืองใด ให้ความสำคัญแก่ หนังสือ สำหรับเด็ก ชาตินั้น เมืองนั้น จะพบความสำเร็จในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ตลอดจนศิลปะ และวัฒนธรรม”

เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ผมไปบรรยายหัวข้อการเล่านิทาน เพื่อ การ พัฒนา ภาษาให้กับเด็กที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 8 จังหวัดนครสวรรค์ มีผู้สนใจ มากมาย ประมาณ 350 ท่าน หลังจากบรรยายเสร็จสิ้น ระหว่างการซักถาม มีผู้ เข้าร่วมฟัง บรรยายถามว่า ทำอย่างไรจะให้ ลูกเลิกดื้อ คำถามนี้มีคนถามผมบ่อย ครั้งมาก คำตอบก็คือ ลูกผมก็ดื้อ แต่เรามีวิธีแก้ไข

หนังสือ เด็กมีมากมาย เราก็เลือกเรื่องที่มีตัวเอก ในเรื่องเป็นคน ไม่ดี หรือเป็นตัวเอกที่เกเร แล้วตอนจบ จะต้องเกิดความเดือนร้อน แก่ตัวเอกเอง หรือประเภทให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว แล้วเรานำ เอาเรื่องราว ประเภทนี้ มาอ่าน หรือมาเล่า หรือให้เด็กอ่านเอง เรื่องจากหนังสือ จะทำให้เกิดสะดุด ความรู้สึกแก่เด็กหรือตรงใจเขา เด็กอาจจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลยก็ได้ หรือบางทีอาจจะยังไม่เกิด ผลอะไรเลยก็ได้ ผู้ปกครอง พ่อ แม่ ครู หรือพี่เลี้ยง ก็จำเป็นต้องหา เรื่องใหม่ๆ แต่ความคิดรวบยอด หรือแก่นของเรื่อง มุ่งหวังให้เด็ก มีพฤติกรรมตามที่ผู้ใหญ่พึงประสงค์

ฉะนั้นหนังสือสำหรับเด็กมีส่วนช่วย ปรับเปลี่ยน พฤติกรรม สำหรับเด็กได้

แล้วหนังสือเด็กที่ดีมีคุณสมบัติอย่างไร เราจะเลือกอย่างไร หรือ สร้างดุลยพินิจอย่างไร เพื่อเลือกให้ถูกต้องเหมาะสม

วัย ของเด็กตั้งแต่ 3-5 ปี หนังสือเด็กจะมีคำง่ายๆ เรื่องง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ใหญ่จะต้องอ่านให้เด็กฟัง เช่น เรื่องหนูมี หนูมา ของคุณสมใจ ทิพย์ชัยเมธา

หนูมี หนูมา

หนูมา เป็นพี่

หนูมี เป็นน้อง

หนูมา เป็นคนดี

หนูมี เป็นเป็นคนขยัน

ลุงป้าให้ของขวัญหนูมา

ตายายให้ของขวัญหนูมี

หนูมีได้ตุ๊กตาหมา

หนูมาได้ตุ๊กตาหมี…..ฯลฯ เป็นต้น

นอก จากคำ และ เรื่องจะง่ายสำหรับเด็กแล้ว ภาษาต้องสละสลวย ไพเราะ และเป็นคำคล้องจองยิ่งดีมากเหมือนบทอาขยาน หรือเพลงกล่อมเด็ก หรือ เพลงร้องเล่น ฯลฯ เป็นต้น

วัย ของเด็กต่อจากอายุ 3-5 ปีก็จะเป็นวัยของเด็กอายุ 6-11 ปี (เด็กโต) วัยนี้เด็กจะอ่านหนังสือเอง ดังนั้น เรื่องจะขยายมากขึ้น ในส่วนของโครงเรื่อง แต่แก่นเรื่องจะมุ่งเน้นแอบแฝงสอนเด็ก หรือ ไม่สอนเด็กเลยก็ได้ ความยุ่งยากซับซ้อนมีได้แล้วในเด็กวัยนี้ ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย

วัย ของเด็กที่ผมยกตัวอย่างมานี้ผมจะกล่าวถึงเพียง 2 ระดับอายุ คือ 3-5 ปี และ 6-11 ปี หลังจาก 11 ปีไปแล้ว เด็กจะขึ้นเรียนใน ระดับมัธยมศึกษา การอ่าน และ พฤติกรรมการอ่านของเด็กจะ เปลี่ยนไป เด็กวัยรุ่นจะอ่านอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะต่างกับการอ่าน และ การเลือกหนังสือเพื่ออ่าน

แต่จุดสรุปรวบยอดของเรื่องที่ดีสำหรับเด็กควรเป็นดังนี้ (ทุกระดับอายุ)

- เด็กต้องการความรักความอบอุ่น
- เด็กอยากรู้อยากเห็นในสิ่งรอบตัว
- เด็กกระตือรือร้นในการเล่น การกิน และชอบท่องเที่ยวผจญภัย
- เด็กยึดมั่นในคำสัญญา และรอคอย
- เด็กชอบจินตนาการแปลกๆ
- เด็กชอบอิสระ
- เด็กอยากได้สิทธิ และเคารพในสิทธิของผู้อื่น
- เด็กต้องการความจริงใจ
- เด็กชอบความงดงาม
- เด็กชอบความปลอดภัย….ฯลฯ เป็นต้น

จาก การสรุปความต้องการ หรือเรื่องปลูกฝังทางอ้อม แก่เด็ก จะมีจุดรวมใหญ่ ดังกล่าวข้างต้นพอเป็นแนว และ เรื่องสำหรับเด็กที่ดี จะต้องไม่สอนเด็กตรงๆ และการจบของเรื่องจะต้องไม่สรุปแบบสำเร็จ ควรเป็นปลายเปิดให้เด็กเกิดความรู้สึกหรือนึกคิดเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น