เลือกโรงเรียนให้ลูก | ||
“ถึงเวลาเลือกโรงเรียนให้ลูกแล้ว จะเลือกโรงเรียนแนวไหนดี” คำถามนี้คงใช้ถามลูกไม่ได้ เพราะลูกยังเล็กเกินกว่า ที่จะใช้ความคิดตัดสินใจ อย่างไรพ่อแม่ก็ต้องเป็นผู้ตัดสินใจให้ แต่เราจะใช้ข้อมูลจากไหนมาเป็แนวทางช่วยเราหาโรงเรียนที่ดีที่สุดและเหมาะสม ที่สุดสำหรับลูก ปัจจุบันแนวทางการศึกษาระดับอนุบาลที่อยู่ในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ ทั้งโรงเรียนรูปแบบคุ้นตาที่เน้นการเรียนเขียนอ่าน โรงเรียนแบบเตรียมความพร้อม โรงเรียนสองภาษา โรงเรียนนานาชาติ แต่ละรูปแบบก็ยังแบ่งแยกรายละเอียดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหลักสูตรแต่ละ ที่ หลักการของมนุษยปรัชญาที่อธิบายโดย ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์( 1861-1925) นักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ และนักการศึกษา ได้กล่าวถึงความเป็นมนุษย์ประกอบด้วย 3 มิติ กาย (body) จิต(soul) และจิตวิญญาณ(spirit) การศึกษาที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์จึงไม่ใช่เป็นเพียงการเพิ่มเติมความร็ให้กับ ผู้เรียน แต่เป็นการเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงศักยภาพที่แฝงเร้นให้แสดงออก มา ให้ผู้เรียนสามารถค้นพบพลังในตัว ความกระตือรือร้นและปัญญาที่ตนเองมีอยู่ เพื่อการบรรลุคุณภาพสูงสุดในตัวเองของแต่ละบุคคล หัวใจของการศึกษาคือ การให้ความสมดุลระหว่างความคิด ความรู้สึกและการลงมือกระทำหรือพลังเจตจำนง ระบบการสอน จึงเป็นเช่นศิลปะแห่งการปลุกสิ่งซึ่งแท้จริงแล้วดำรงอยู่ในตัวมนุษย์ให้ตื่น ขึ้นมา หลักการของ รูดอร์ฟ สไตเนอร์ ทำให้เกิดแนวทางโรงเรียนของวอลดอร์ฟในเวลาต่อมา โดยครูผู้สอนจำเป็นจะต้องปลุกความเป็นมนุษย์ ที่แท้จริงในตัวเองเสียก่อน มนุษยปรัชญาได้ทำให้ผู้ที่ศึกษามองเห็นความสำคัญของเด็กเล็กในวัยอนุบาล กล่าวคือ เด็กวัยอนุบาลหรือช่วงอายุ 0-7 ปี อยู่ในระยะของการสร้างร่างกาย ทางกายภาพแสดงออกโดยผ่านการลงมือกระทำ(hands) วึ่งแฝงเร้นด้วยพลังเจตจำนง(will) ที่เด็กๆจะมีความมุ่งมั่นทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จ สิ่งที่เด็กต้องการทำนั้นได้มาจากแบบอย่างที่พบเห็นใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กอยากเรียนรู้ โดยการเลียนแบบสิ่งที่เห็น การส่งเสริมให้เด็กพัฒนาพลังเจตจำนง ทำได้โดยทำสิ่งแวดล้อมให้เหมาะต่อการเรียนรู้ รักษาความสม่ำเสมอ มีผู้คนที่เป็นแบบอย่าง มีชีวิตที่เป็นความปกติอยู่ในความดีงาม ลักษณะของสถานศึกษาหรือโรงเรียนอนุบาลที่เหมาะสำหรับเด็กเล็กจึงควรมีสภาพ เป็นบ้าน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้อันสำคัญสำหรับเด็ก สื่ออุปกรณ์เป็นสิ่งที่ไม่สำเร็จรูปเพื่อเสริมสร้างจินตนาการแก่เด็ก มีครูที่เปรียบเสมือนเป็นแม่ เด็กนักเรียนเหมือนลูกๆและเป็นพี่น้องกัน ส่วนกิจกรรมในโรงเรียนอนุบาลควรเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการงานและชัว ิตประจำวันในบ้าน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ ได้กำหนดหลักการของการจัดการการศึกษาปฐมวัยไว้ดังนี้ อุดมการณ์และหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับแรก วางรากฐานชีวิตของเด็กไทยให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บนพื้นฐานความสมารถ และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยใช้กิจกรรมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการของสมองอย่างเต็มที่ รวมทั้งเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับ สูงขึ้น อันจะนำไปสู่ความเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป การศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละบุคคลภายใต้ บริบททางวัฒนธรรม อารยธรรม และวิถีชัวิตทางสังคม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างกัน หลักการของการจัดการศึกษาปฐมวัย 1.หลักการพัฒนาโดยองค์รวม โดยเริ่มจากการพัฒนาด้านร่างกายให้แข็งแรงที่สมบูรณ์ กระตุ้นให้สมองได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ พัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ให้เป็นผู้ที่มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง ร่าเริงแจ่มใส สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ พัฒนาด้านสังคมโดยให้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีสามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รวมทั้งพัฒนาสติปัญญา ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ บนวิถีชีวิตของเด็กตามสภาพครอบครัว บริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย 2.หลักการจัดประสบการณ์ที่ยึดเด็กเป็นสำคัญ โดยจัดการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และจัดการเรียนรู้ ผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นเรียนให้สนุก เล่นให้มีความสุข และเกิดพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล 3. หลักการสร้างเสริมความเป็นไทย โดยการปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นคนไทย ความเป็นชาติไทยที่มีวัฒนธรรมอันดีงาม เคารพนับถือและกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา มีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจ ทำให้เกิดความรักและความภาคภูมิใจในตนเอง ครอบครัว ท้องถิ่นและประเทศไทย 4. หลักความร่วมมือ โดยครอบครัว ชุมชนและสถานศึกษาร่วมมือกันในการอบรม เลี้ยงดูและพัฒนาเด็กให้มีการพัฒนาการให้เหมาะสมกับวัย สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข ตลอดจนพร้อมที่จะเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป 5. หลักแห่งความสอดคล้อง อุดมการณ์และมาตรฐานในการจัดการศึกษาปฐมวัยต้องสอดคล้องกับสาระบัญญัติในรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัตการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 )พุทธศักราช 2545 นโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา สอดคล้องกับมาตรฐานการสึกษาของชาติและสัมพันธ์เชื่อมโยงกับมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐาน โรงเรียนอนุบาลมีหลักการคล้ายกัน แต่มีหลายแนวดังนี้ 1. แนวเร่งเรียนเขียนอ่าน กลุ่มนี้ผู้ปกครองให้ความเชื่อถือว่า จบอนุบาลแล้วสามารถสอบเข้าชั้นประถมของโรงเรียนดังๆยอดนิยมได้ แนวการสอนคือ เน้นการคัดลายมือ บวกลบเลข สอนให้อ่านออกเขียนได้เมื่อจบชั้นอนุบาล3 2. แนวเตรียมความพร้อม กลุ่มนี้แตกต่างจากกลุ่มแรกอย่างชัดเจน ยังแบ่งออกเป็นสองรูปแบบ รูปแบบแรก เป้าหมายอยู่ที่เตรียมความพร้อมเพื่อขึ้นชั้นประถม1 ให้เด็ก3-6 ปีพัฒนาสมองและร่างกาย ประสาทและกล้ามเนื้อต่างทำหน้าที่สัมพันธ์กัน กิจกรรมเน้นการฝึกทักษะด้านการคิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางการศึกษาเน้นการเล่นปนเรียน หัวใจของการจัดการศึกษาเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่วนรูปแบบที่สอง มีปรัชญารองรับ อาจเรียกอีกชื่อว่า โรงเรียนทางเลือก ไม่เน้นการเรียนเขียนอ่านในระดับอนุบาลและไม่เน้นเพื่อเตรียมเด็กให้มีความ พร้อมเพื่อขึ้นประถม1 แต่เป็นการเตรียมพร้อมที่เหมาะสมสำหรับการสร้างฐานของชีวิตและสิ่งที่ต้องทำ ในวัยเด็ก ครูจะพยายามสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น แนวทางการศึกษามีรูปแบบแตกต่างไปตามปรัชญาที่โรงเรียนแต่ละโรงเรียนนำมาใช้ เช่น นีโอฮิวแมนนีส วอลดอร์ฟ มอนเตสเซอร์รี่ เรกจิโอเอมิเลีย โปรเจกต์แอปโพรช รวมถึงแนวพุทธที่กำลังเป็นที่สนใจในขณะนี้ 3. โรงเรียนสองภาษาหรือไบลิงกัว เพิ่งเป็นที่รู้จักมาประมาณ2-3ปี เป็นโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรของกระทรวง แต่ถูกระบุให้ใช้สองภาษาอย่างละครึ่งต่อครึ่ง ไม่ว่าจะเป็นภษาอังกฤษหรือภาษาจีน บางโรงเรียนเพิ่มเป็นสามภาษาเพราะความต้องการของผู้ปกครอง ในระดับอนุบาล สอนแบบเตรียมความพร้อมเน้นกิจกรรมเล่นปนเรียน มีสื่อที่เป็นภาษาที่สอง เช่น บัตรคำ หนังสือภาพเทคโนโลยีทางการศึกษา 4. โรงเรียนนานาชาติ จากเดิมที่มีไว้รองรับลูกหลานของต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย รับเด็กไทยเพียง 10-15% ปัจจุบันนี้กลายเป็นที่นิยมของคนในสังคมไทยที่มีฐานะสามารถสนับสนุนการเงิน โรงเรียนนานาชาติมีหลักสูตรของตนเองขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ โรงเรียนนานาชาติเป็นโรงเรียนที่ไม่ได้ใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ แต่จะใช้หลักสูตรของต่างประเทศ แยกเป็นโรงเรียนนานาชาติแท้ๆคือ รับเด็กจากชาติต่าง เรียนคละกันใช้หลักสูตรระบบอเมริกันและระบบอังกฤษ กับโรงเรียนเฉพาะเจาะจงของแต่ละชาติ เช่น โรงเรียนญี่ปุ่นที่ใช้หลักสูตรญี่ปุ่น หรือโรงเรียนฝรั่งเศสก็เรียนตามหลักสูตรฝรั่งเศส แต่ส่วนใหญ่โรงเรียนนานาชาติจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เพราะเป็นภาษากลางที่ใช้ได้ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หากพ่อแม่เฝ้ามองการเจริญเติบโต ค้นหาพลังแห่งความเป็นมนุษย์ที่แท้ของเด็ก เด็กเปรียบเสมือนตัวอ่อนในไข่ที่ต้องอดทนฟูมฟัก บ่มเพาะด้วยความรักความอบอุ่น หากมุ่งเน้นแต่การให้แต่เนื้อหาข้อมูล เด็กจะได้เพียงจำได้แต่ยังหลับไหล หากพ่อแม่ให้การดูแลแบบค่อยๆปลุกให้ตื่น หาวิธีเรียนรู้โลกที่เป็นอยู่อย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้เด็กมีความมั่นใจว่าโลกนี้มีความดีและความงาม หาวิธีเข้าถึงความเข้าใจต่างๆ ด้วยศิลปะที่มีอยู่ในตัวผู้สอน การเรียนรู้ที่แท้จริงจะค่อยๆเกิดขึ้นในตัวเด็ก |
วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น